เมนู

อรรถกถาทสกัมมปถสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในทสกัมมปถสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า พวกทำปาณาติบาต เพราะอรรถว่า ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง
ไป. อธิบายว่า พวกฆ่าสัตว์มีชีวิต. ชื่อว่า พวกทำอทินนาทาน เพราะ
อรรถว่า ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ อธิบายว่า ลักของผู้อื่น. ชื่อว่า
พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร เพราะอรรถว่า ประพฤติผิดในวัตถุกาม ด้วย
กิเลสกาม. ชื่อว่า พวกมุสาวาท เพราะอรรถว่า พูดเท็จ อธิบายว่า
พูดวาจาเท็จ เหลาะแหละ หักรานประโยชน์ของผู้อื่น. ชื่อว่า พวก
ปิสุณวาจา
เพราะอรรถว่า มีวาจาส่อเสียด. ชื่อว่า พวกผรุสวาจา เพราะ
อรรถว่า มีวาจาหยาบตัดเสียซึ่งคำรัก. ชื่อว่า พวกสัมผัปปลาปะ เพราะ
อรรถว่า พูดคำเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์. ชื่อว่า พวกมีอภิชฌาลุ เพราะ
อรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า เป็นคนมีปกติอยากได้ในภัณฑะของผู้อื่น.
ชื่อว่า พวกมีพยาปันนจิต เพราะอรรถว่า มีจิตพยาบาท คือเสีย. ชื่อว่า
พวกมิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า มีความเห็นผิด คือลามก ผู้รู้ติเตียน
อธิบายว่า ประกอบด้วยทิฏฐิอันไม่นำให้พ้นทุกข์ เนื่องด้วยกรรมบถ
คือเนื่องด้วยความเห็นผิดมีวัตถุเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า มีความเห็นชอบ คืองาม ผู้รู้สรรเสริญ
อธิบายว่า ประกอบด้วยมัคคทิฏฐิ เนื่องด้วยกรรมบถ เนื่องด้วยความ
เห็นชอบว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วมีผล
นี้เป็นเพียงชื่อว่าการพรรณนาบทที่ยากในสูตรนี้ก่อน.
ส่วนบทเหล่านั้น มีอรรถ 10 อย่างในธรรมฝ่ายดำ คือปาณาติบาต

อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัป-
ปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ. ในบทเหล่านั้น การยังสัตว์มีชีวิต
ให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต. มีอธิบายว่า ฆ่าสัตว์มีชีวิต คือการ
ฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย. ส่วนในบทว่า ปาโณ นี้ โดยโวหารให้แก่ สัตว์.
โดยปรมัตถ์ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. ก็เจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์
มีชีวิตนั้นว่า สัตว์มีชีวิต อันตั้งขึ้นเพราะความพยายามเป็นเหตุเข้าไปตัด
ชีวิตินทรีย์เสียที่เป็นไปทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อ
ปาณาติบาต. บรรดาสัตว์มีชีวิต ผู้เว้นจากคุณมีสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น
ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์เล็ก ชื่อว่ามีโทษมาก ใน
เพราะสัตว์ใหญ่. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมีความพยายาม
มาก. แม้เมื่อมีความพยายามเท่ากัน ก็ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่.
บรรดาสัตว์ผู้มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษน้อย ใน
เพราะสัตว์มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีคุณมาก. ก็เมื่อมีสรีระ
และคุณเสมอกัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายาม
อ่อน พึงทราบว่า มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามกล้า.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ 5 คือ สัตว์มีชีวิต 1 ความเป็นผู้มีความ
สำคัญว่าสัตว์มีชีวิต 1 จิตคิดจะฆ่า 1 มีความพยายาม 1 สัตว์ตายด้วย
ความพยายามนั้น 1.
ประโยคมี 6 คือ สาหัตถิกะ 1 อาณัตติกะ 1 นิสสัคคิยะ 1 ถาวระ-
วิชชามยะ 1. ความเนิ่นช้าก็จะมีในเรื่องนั้น อันข้าพเจ้าให้พิสดารไว้ใน
ที่นี้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจะไม่ให้เรื่องนั้นพิสดาร. ส่วนเรื่องอื่นและ

เรื่องเห็นปานนั้น ผู้มีความต้องการพึงตรวจดูอรรถกถาพระวินัย ชื่อ
สมันตปาสาทิกาเถิด.
การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน มีอธิบายว่า
ลักขโมยของผู้อื่น เป็นกิริยาของโจร. ในบทเหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ
แปลว่า พัสดุที่ผู้อื่นหวงแหน. เจตนาเป็นขโมยของบุคคลผู้มีความสำคัญ
ในพัสดุอันผู้อื่นหวงแหนนั้น ว่าเป็นพัสดุอันผู้อื่นหวงแหนแล้ว ซึ่งใช้คน
อื่นให้ทำตามความต้องการยังไม่มีโทษทางอาชญา คือยังไม่มีใครกล่าว
โทษเพราะยังความพยายามเป็นเหตุถือเอาพัสดุที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นให้ตั้งขึ้น
ก็ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะ
ของ ๆ ผู้อื่นเลว. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะของ ๆ ผู้อื่นประณีต.
เพราะเหตุไร. เพราะพัสดุประณีต. เมื่อพัสดุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะเป็นของ ๆ บุคคลผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะเป็น
ของ ๆ บุคคลผู้มีคุณเลวกว่าบุคคลผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น เพราะเทียบกับบุคคล
ผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ.
อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ พัสดุอันผู้อื่นหวงแหน 1 ความ
เป็นผู้มีความสำคัญว่าเป็นของอันผู้อื่นหวงแหน 1 จิตคิดจะลัก 1 ความ
พยายาม 1 ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น 1
ประโยคมี 6 มีสาหัตถิกะเป็นต้น ก็แลประโยคเหล่านั้น เป็นไป
แล้วด้วยอำนาจแห่งอวหารเหล่านี้ตามสมควร คือ เถยยาวหาร ลัก 1
ปสัยหาวหาร ข่มขู่ 1 ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน 1 ปริกัปปาวหาร
กำหนดลัก 1 กุสาวหาร ลักสับ 1 นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้ ส่วน
ความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา.

ส่วนบทว่า กาเมสุ ในบทว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ในความ
ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดีในกรรมของคนคู่กัน. บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่
อาจาระอันทรามที่บัณฑิตติเตียนโดยส่วนเดียว. ก็โดยลักษณะ เจตนาเป็น
เหตุก้าวล่วงฐานะอันบุคคลไม่พึงถึงเป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์
อสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาร.
ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น สตรี 10 จำพวกแรก มีพวกที่มารดา
ปกครองรักษาเป็นต้น คือ มาตุรกฺขิตา สตรีที่มารดาปกครองรักษา 1
ปิตุรกฺขิตา ที่บิดาปกครองรักษา 1 มาตาปิตุรกฺขิตา ที่มารดาบิดา
ปกครองรักษา 1 ภาตุรกฺขิตา ที่พี่น้องชายปกครองรักษา 1 ภคินีรกฺ-
ขิตา
ที่พี่น้องหญิงปกครองรักษา 1 ญาติรกฺขิตา ที่ญาติปกครองรักษา 1
โคตฺตรกฺขิตา ที่วงศ์ตระกูลปกครองรักษา 1 ธมฺมรกฺขิตา ที่ผู้ประพฤติ
ธรรมปกครองรักษา 1 สารกฺขา ที่ผู้หมั้นหมายปกครองรักษา. สปริ-
ทณฺฑา
ที่อยู่ในอาณัติปกครองรักษา และสตรี 10 พวกหลัง มีพวก
ที่บุรุษซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้น เหล่านี้คือ ธนกฺกีตา สตรีที่บุรุษซื้อมา
ด้วยทรัพย์ 1. ฉนฺทวาสินี ที่สมัครใจมาอยู่ร่วม 1. โภควาสินี ที่มาอยู่
ร่วมเพราะโภคะ 1 ปฏวาสินี ที่มาอยู่ร่วมเพราะผ้า 1 โอทปตฺตกินี
ที่มาอยู่ร่วมโดยพิธีแต่งงานหลั่งน้ำ 1 โอภตจุมฺพตา ที่บุรุษช่วยให้พ้น
จากการแบกทุนของบนศีรษะ 1 ทาสี ภริยา ภรรยาที่เป็นทาสี 1
กมฺมการี ภริยา ภรรยาที่เป็นกรรมกร 1 ธชาหฏา ที่เป็นเชลย 1
มุหุตฺติกา ที่เป็นภรรยาชั่วครั้งคราว 1 รวมเป็น 1 รวมเป็น 20 จำพวก ชื่อว่า
อคมนียัฏฐาน (ฐานะที่ไม่พึงเกี่ยวข้อง) สำหรับบุรุษ.
ส่วนในหญิงทั้งหลาย หญิง 12 จำพวก คือ สตรีที่มีผู้หมั้นหมาย
ปกครองรักษา 1 ที่อยู่ในอาณัติปกครองรักษา 1 และหญิงที่ซื้อมาด้วย

ทรัพย์เป็นต้น 10 จำพวก นี้ชื่อว่าอคมนียัฏฐานสำหรับบุรุษอื่น
ก็มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมมียัฏฐานเว้น
จากคุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะอคมนียัฏฐาน ถึงพร้อม
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ 4 คือ วัตถุอันไม่ควรถึง 1 จิต
คิดจะเสพในวัตถุอันไม่ควรถึงนั้น 1 ความพยายามในอันเสพ 1 ยังมรรค
ให้ถึงมรรคหยุดอยู่ 1. มีประโยคเดียวคือสาหัตถิกะเท่านั้น.
บทว่า มุสาวาโท ความว่า วจีประโยค หรือกายประโยค อัน
หักรานประโยชน์ของผู้มุ่งกล่าวให้ผิด เจตนาอันยังกายประโยคและวจี-
ประโยคของผู้กล่าวให้ผิดต่อผู้อื่นให้ตั้งขึ้นแก่ผู้อื่น ด้วยประสงค์จะกล่าว
ให้ผิด ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องอันไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา. การยังผู้อื่น
ให้ทราบเรื่องนั้น โดยความเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ. โดย
ลักษณะ เจตนาที่ยังวิญญัติอย่างนั้นให้ตั้งขึ้นของผู้ประสงค์จะยังผู้อื่นให้
ทราบเรื่องอันไม่จริง โดยความเป็นเรื่องจริง ชื่อว่า มุสาวาท. มุสาวาท
นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานน้อย ชื่อว่า
มีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่มุสาวาทีบุคคลหักรานมาก อนึ่ง สำหรับ
พวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ไม่มี เพราะไม่ประสงค์
จะให้ของ ๆ ตน ชื่อว่ามีโทษน้อย. มุสาวาทที่มุสาวาทีบุคคลเป็นพยาน
กล่าวเพื่อหักรานประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับพวกบรรพชิต
มุสาวาทที่เป็นไป โดยปูรณกถานัยว่า วันนี้ น้ำมันในบ้านไหลไปดุจ

แม่น้ำ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสแม้นิดหน่อยแล้ว ประสงค์จะให้
หัวเราะกัน ชื่อว่ามีโทษน้อย. แต่มุสาวาทของผู้กล่าวสิ่งที่ตนมิได้เห็น
นั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า ข้าพเจ้าเห็น ชื่อว่ามีโทษมาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ 4 คือเรื่องไม่จริง 1 จิตคิดจะกล่าวให้ผิด 1
ความพยายามเกิดจากจิตนั้น 1 ผู้อื่นรู้เรื่องนั้น 1 มีประโยคเดียว คือ
สาหัตถิกะแล. มุสาวาทนั้นพึงเห็นได้ในการทำกิริยาเป็นเครื่องกล่าวให้ผิด
ต่อผู้อื่น ด้วยกายบ้าง ด้วยของเนื่องด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ถ้าผู้อื่น
รู้เรื่องนั้น ด้วยกิริยานั้น. เจตนาที่ยังกิริยาให้ตั้งขึ้นนี้ ย่อมผูกมัดด้วย
มุสาวาทกรรมในขณะนั้นแล.
บทในบทเป็นต้นว่า ปิสุณา วาจา ความว่า คนพูดวาจาแก่ผู้
อื่นด้วยวาจาใด กระทำตนให้เป็นที่รักอยู่ในดวงใจของผู้นั้น และทำ
คนอื่นให้เสีย วาจานั้น ชื่อว่า ปิสุณวาจา. ส่วนวาจาใด ทำตนบ้าง
คนอื่นบ้างให้หยาบ. หรือวาจาใดหยาบ แม้ตนเองก็ไม่เพราะหูไม่สบาย
ใจ นี้ชื่อว่า ผรุสวาจา. คนกล่าวเพ้อเจ้อไร้ประโยชน์ เขาชื่อว่า
สัมผัสปลาปะ. แม้เจตนาที่เป็นมูลของวาจาเหล่านั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า
ปิสุณวาจาเป็นต้นเหมือนกัน. ก็เจตนานั้นแล ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
ในบทนั้น เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง อันยังกายประโยคและวจี-
ประโยคให้ตั้งขึ้น เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นก็ดี เพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็น
ที่รักก็ดี ชื่อว่าปิสุณวาจา. ปิสุณวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะบุคคล
ผู้ถูกปิสุณวาจีบุคคลทำความแตกกันในผู้มีคูณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก ใน
ผู้มีคุณมาก.
ปิสุณวาจานั้น มีองค์ 4 คือ ทำลายผู้อื่น 1 ความเป็นผู้มุ่งเพื่อ

ทำลายด้วยประสงค์ว่า พวกคนนี้ จักเป็นผู้ต่างกัน จักเว้นจากกัน ด้วย
อุบายอย่างนี้ ดังนี้ หรือความเป็นผู้ปรารถนาจะทำตนให้เป็นที่รักด้วย
ประสงค์ว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นผู้คุ้นเคยด้วยอุบายดังนี้ 1 ความ
พยายามอันเกิดจากจิตนั้น 1 ผู้นั้นรู้ความนั้น 1.
เจตนาหยาบโดยส่วนเดียว ที่ยังกายประโยคและวจีประโยคอันเป็น
เหตุตัดเสียซึ่งคำรักของผู้อื่นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า ผรุสวาจา เพื่อให้ผรุสวาจา
นั้นแจ่มแจ้ง พึงทราบเรื่องต่อไปนี้.
ได้ยินว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อคำของมารดา ไปสู่ป่า มารดาเมื่อ
ไม่อาจจะให้เด็กนั้นกลับได้ จึงด่าว่า ขอแม่กระบือดุจงไล่ตามมัน. ครั้งนั้น
แม่กระบือในป่า ปรากฏแก่เด็กนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน. เด็กได้ทำสัจกิริยา
ว่า ขอคำที่แม่พูดแก่เรา จงอย่ามี ขอที่แม่คิด จงมี. แม่กระบือได้
หยุดอยู่ เหมือนถูกผูกในที่นั้นนั่นเอง.
วจีประโยค แม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรักอย่างนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าเป็น
ผรุสวาจา เพราะจิตอ่อน. จริงอยู่ บางครั้งมารดาบิดาย่อมพูดกะ
บุตรน้อยทั้งหลายอย่างนี้ว่า ขอพวกโจรจงทำมันให้เป็นท่อนเล็กท่อนน้อย
เถิด แต่ท่านก็ไม่ปรารถนา แม้แต่จะให้กลีบอุบลตกลงเบื้องบนของบุตร
เหล่านั้น. อนึ่ง บางคราว อาจารย์และอุปัชฌายะทั้งหลาย ย่อมพูดกับ
พวกนิสิตอย่างนี้ว่า พวกเหล่านี้ ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว
พูดอะไรกัน ไล่มันไปเสีย. ก็แต่ท่านปรารถนาความถึงพร้อมด้วยปริยัติ
ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพื่อศิษย์เหล่านั้น. เหมือนอย่างว่า วจีประโยคที่เป็นไป
เพราะผู้พูดเป็นผู้มีจิตอ่อน ไม่ชื่อว่าผรุสวาจา ฉันใด วจีประโยคเป็นไป
เพราะผู้พูดเป็นผู้มีคำอ่อนหวาน ไม่ชื่อว่าผรุสวาจาก็หามิได้ฉันนั้น. จริงอยู่

คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า ท่านทั้งหลาย จงให้คนนี้นอนเป็น
สุขเถิด ไม่ชื่อว่าผรุสวาจาหามิได้. ที่แท้ วาจานั้น ต้องเป็นผรุสวาจาแน่
เพราะผู้พูดเป็นผู้มีจิตหยาบ. ผรุสวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะเป็นผู้ถูก
ผรุสวาจีบุคคลมุ่งหมายให้เป็นไปมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ผู้นั้นมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้น มีองค์ 3 คือ ด่าผู้อื่น 1 จิตโกรธ 1 การด่า 1.
อกุศลเจตนาที่ยังกายประโยค และวจีประโยคให้ตั้งขึ้น .อันยังผู้อื่น
ให้รู้สิ่งที่มิใช่ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ. สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะอาเสวนะน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะ
มาก.
สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ 2 คือ ความเป็นผู้มุ่งพูดเรื่องอันหา
ประโยชน์มิได้ มีเรื่องภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดาเป็นต้น 1 การ
พูดเรื่องเห็นปานนั้น 1.
ธรรมชาติที่ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอรรถว่า เพ่งเล็ง อธิบายว่า
เป็นไปโดยความเป็นผู้มุ่งภัณฑะของผู้อื่น แล้วน้อมไปในภัณฑะนั้น.
อภิชฌานั้น มีลักษณะเพ่งเล็งต่อภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอสิ่งนี้
จะพึงเป็นของ ๆ เรา ดังนี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือน
อทินนาทาน.
อภิชฌานั้น มีองค์ 2 คือภัณฑะของผู้อื่น 1 การน้อมมาเพื่อ
ตน 1 จริงอยู่ เมื่อความโลภซึ่งมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้เกิดขึ้น
แล้ว อภิชฌาลุบุคคลยังไม่น้อมมาเพื่อตน ด้วยคิดว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้
จะพึงเป็นของ ๆ เราตราบใด กรรมบถก็ยังไม่ขาดตราบนั้น.

สภาพที่ชื่อว่า พยาบาท เพราะอรรถว่า ยังประโยชน์สุขให้ถึง
ความพินาศ. พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายใจเพื่อความพินาศของ
ผู้อื่น ชื่อว่ามีโทษน้อย และมีโทษมาก เหมือนผรุสวาจา.
พยาบาทนั้น มีองค์ 2 คือ สัตว์อื่น 1 คิดความพินาศเพื่อ
สัตว์นั้น 1. ก็เมื่อความโกรธ ซึ่งมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้ง แม้เกิดขึ้นแล้ว
วิปันนจิตตบุคคลยังไม่คิดความพินาศเพื่อสัตว์นั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้
พึงขาดสูญพินาศไปตราบใด กรรมบถถ็ยังไม่ขาดตราบนั้น.
ธรรมชาติ ชื่อว่า มิจฉาทิฐิ เพราะอรรถว่า เห็นผิด เพราะ
ไม่ถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นผิด โดยนัย
เป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่ามีโทษน้อย แต่มีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่ถึง ชื่อว่ามีโทษ
น้อย. ที่ถึง ชื่อว่ามีโทษมาก.
มิจฉาทิฏฐินั้น มี องค์ 2 คือ ความที่วัตถุวิปริตจากอาการที่
ถือเอา 1 ความปรากฏแห่งมิจฉาทิฏฐินั้น โดยที่ยึดเอาวัตถุนั้นว่าเป็น
จริง 1.
ก็พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถ 10 เหล่านี้ โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า ก็ในอกุศลกรรมบถ
เหล่านั้น มีเจตนาธรรม7 อย่างตามลำดับ. อกุศลกรรมบถมีอภิชฌาเป็นต้น
สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า ธรรม 8 อย่างเหล่านี้
คือ เจตนาธรรม 7 ตามลำดับ และมิจฉาทิฏฐิเป็นกรรมบถอย่างเดียว
ไม่เป็นมูล อภิชฌาและพยาบาท เป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย. ความจริง

อภิชฌา เป็นโลภะ ถึงความเป็นมูล คือเป็นอกุศลมูล. พยาบาทเป็นโทสะ
ถึงความเป็นมูล คือเป็นอกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่า
ปาณาติบาต มีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อิทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง
มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจการ
ถูกต้อง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ ดังนี้ ก็มี.
มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. ปิสุณวาจา
ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์
เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจสิ่งที่คนได้เห็น
ได้ฟัง ได้ทราบ และได้รู้แล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น. พยาบาท มีสัตว์เป็น
อารมณ์อย่างเดียว. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจธรรมที่
เป็นไปในภูมิ 3.
บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา. ก็พระ
ราชาทรงเห็นโจรแล้ว แม้ทรงร่าเริงอยู่. รับสั่งว่า ท่านจงไป จงฆ่ามัน.
ดังนี้ ก็จริง ถึงกระนั้น เจตนาเป็นเหตุให้สำเร็จได้ ก็สัมปยุตด้วยทุกข์แก่
โจรเหล่านั้น. อทินนาทาน มีเวทนา 2. มิจฉาจาร มีเวทนา 2 คือสุขเวทนา
และมัชฌัตตเวทนา (อุเบกขาเวทนา) ส่วนในจิตที่เป็นเหตุให้สำเร็จ
ไม่เป็นมัชฌัตตเวทนา. มุสาวาท มีเวทนา 3. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น.
ผรุสวาจา เป็นทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา 3. อภิชฌา
มีเวทนา 2 คือสุขเวทนาและมัชฌัตตเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น.
พยาบาท เป็นทุกขเวทนา.
บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล 2 คือโทสะและโมหะ.
อทินนาทาน มีมูล 2 คือโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. มิจฉาจาร

มีมูล 2 คือโลภะและโมหะ. มุสาวาท มีมูล 2 คือโทสะและโมหะหรือ
โลภะและโมหะ. ปิสุณวาจาและสัมผัปปลาปะก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา
มีมูล 2 คือโทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียวคือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น.
มิจฉาทิฏฐิ มีมูล 2 คือโลภะและโมหะ.
ปาณาติบาตเป็นต้น ในบทเป็นต้นว่า ปาณาติบาตา ปฏิวิรตา
มีอรรถตามที่กล่าวแล้วแล. ส่วนชนเหล่านั้น ชื่อว่า เว้นขาดด้วยวิรัติใด.
วิรัตินั้น โดประเภทมี 3 อย่าง คือสัมปัตตวิรัติ สมาทานวิรัติ
สมุจเฉทวิรัติ.
บรรดาวิรัติ 3 เหล่านั้น วิรัติซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ได้
สมาทานสิกขาบท เป็นแต่พิจารณาฐานะทั้งหลายมีชาติวัยและการ
ศึกษาหากเป็นต้นของตน ไม่ก้าวล่วงวัตถุที่มาประจวบเข้าด้วยคิดว่าการทำ
เช่นนี้ ไม่สมควรแก่เรา ดังนี้ พึงทราบว่า สัมปัตตวิรัติ. เหมือนวิรัติที่
เกิดขึ้นแก่จักกนะอุบาสกในเกาะสิงหลฉะนั้น.
ได้ยินว่า ในเวลาจักกนะอุบาสกนั้นเป็นหนุ่มนั่นแล โรคเกิดขึ้น
แก่มารดา. และหมอบอกว่า ควรได้เนื้อกระต่ายสด จึงจะควร. ลำดับนั้น
พี่ชายของเขาใช้นายจักกนะไปด้วยสั่งว่า พ่อ เจ้าจงไป จงเที่ยวไปสู่นา
เถิด. เขาไปที่นานั้นแล้ว ก็สมัยนั้น กระต่ายตัวหนึ่งมาเพื่อจะกัดกินข้าว
กล้าอ่อน. กระต่ายนั้น เห็นนายจักกนะนั้นเข้า จึงวิ่งไปโดยเร็ว ถูก
เถาวัลย์พัน ได้ร้องเสียงดังกิริ กิริ. นายจักกนะไปตามเสียงนั้น ก็จับ
กระต่ายนั้นไว้แล้ว จึงคิดว่า เราจักผสมยาแก่มารดา. แต่เขาคิดต่อไปอีกว่า
ข้อที่เราพึงปลงสัตว์เสียจากชีวิตเพราะเหตุแห่งชีวิตของมารดา หาควรแก่
เราไม่. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงปล่อยกระต่ายนั้นไปด้วยคำว่า เจ้าจงไป
จงบริโภคหญ้าและน้ำกับพวกกระต่ายในป่าเถิด. ก็เขาถูกพี่ชายถามว่า พ่อ

เจ้าได้กระต่ายแล้วหรือ จึงบอกความเป็นไปนั้น. ดังนั้น พี่ชายจึงด่านาย
จักกนะนั้น. เขาไปหามารดายืนกล่าวคำสัจว่า แต่กาลที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว
ยังไม่รู้สึกว่าปลงสัตว์จากชีวิต. ทันทีนั่นเอง มารดาของเขาก็ได้เป็นผู้
หายจากโรคแล้ว.
ส่วนวิรัติซึ่งเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สมาทานสิกขาบทแล้ว ยอมสละชีวิต
ของตน ทั้งในเวลาสมาทานสิกขาบท ทั้งในเวลาอื่นจากนั้น ไม่ก้าวล่วง
วัตถุอยู่ พึงทราบว่า สมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติที่เกิดขึ้นแก่อุบาสก
ชาวบ้านใกล้ภูเขาอุตตรวัฑฒมานะฉะนั้น.
ได้ยินว่า อุบาสกนั้น รับสิกขาบทในสำนักของพระปิงคลพุทธ-
รักขิตเถระ
ผู้อยู่ในอัมพริยวิหารแล้ว ไถนาอยู่. ครั้นนั้น โคของเขาหายไป.
เขาเมื่อแสวงหาโคนั้น ได้ขึ้นไปยังภูเขาชื่อว่าอุตตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่บน
ภูเขานั้นได้รัดเขาไว้. เขาคิดว่า จะตัดศีรษะด้วยมีดอันคมเล่มนี้ คิดอีกว่า
ข้อที่เรารับสิกขาบทในสำนักของครูผู้น่าสรรเสริญแล้วพึงทำลายเสีย หาสม-
ควรแก่เราไม่. ครั้นคิดอยู่อย่างนี้ จนถึง 3 ครั้ง ตัดสินใจว่า เราจะยอม
สละชีพ จะไม่ยอมสละสิกขาบท แล้วทิ้งพร้าโต้อันคมที่แบกอยู่บนบ่า
เสียในป่า งูใหญ่ได้คลายออกไปให้ทันทีนั้นเหมือนกัน.
แม้ความคิดว่า เราจักฆ่าสัตว์ดังนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยบุคคล
ทั้งหลาย จำเดิมแต่การเกิดขึ้นแห่งวิรัติใด วิรัตินั้น สัมปยุตด้วยอริยมรรค
พึงทราบว่า สมุจเฉทวิรัติ.
พึงทราบวินิจฉัยแห่งกุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ โดยอาการ 5 คือ
โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดยเวทนา โดยมูล เหมือน
อกุศลฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า เจตนา 7 ก็ดี
วิรัติก็ดี ย่อมควรตามลำดับในกุศลกรรมบถแม้เหล่านั้น. ส่วนธรรม 3
ในที่สุดสัมปยุตด้วยเจตนาแล. บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า เจตนา 7
ตามลำดับเป็นกรรมบถเท่านั้น ไม่เป็นมูล. ธรรม 3 ในที่สุดเป็นทั้ง
กรรมบถ เป็นทั้งมูล. จริงอยู่ อนภิชฌา เป็นอโลภะ ถึงความเป็นมูล
เป็นกุศลมูล. อัพยาบาท เป็นอโทสะ ถึงความเป็นมูล เป็นกุศลมูล
สัมมาทิฏฐิ เป็นอโมหะ ถึงความเป็นมูล เป็นกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต
ความว่า อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแล ก็เป็นอารมณ์ของกรรมบถ
เหล่านั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าวิรัติจากวัตถุอันจะพึงก้าวล่วงอารมณ์แห่ง
กรรมบถเหล่านั้น. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมีนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อม
ละกิเลสได้ ฉันใด กรรมบถเหล่านั้น มีชีวิตินทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์
พึงทราบว่า ละการทุศีลมีปาณาติบาตเป็นต้นได้ ฉันนั้น. บทว่า เวทนาโต
ความว่า เวทนาทั้งปวง เป็นสุขเวทนา หรือมัชฌัตตเวทนา. ชื่อว่า
เวทนาถึงกุศลย่อมไม่มี. บทว่า มูลโต ความว่า เจตนา 7 ตามลำดับ
มีมูล 3 คือ อโลภะอโทสะและอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็น
ญาณสัมปยุต. มีมูล 2 สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็นญาณวิปปยุต. อนภิชฌา
มีมูล 2 สำหรับผู้งดเว้นอยู่ด้วยจิตเป็นญาณสัมปยุต. มีมูล 1 ด้วยจิตเป็น
ญาณวิปปยุต. ส่วนอโลภะไม่เป็นมูลแก่ตนเอง. แม้ในอัพพยาบาท ก็นัยนี้
แล. สัมมาทิฏฐิ มีมูล 2 คือ อโลภะ และอโทสะ.
จบอรรถกถาทกัมมปถสูตรที่ 5

6. อัฏฐังคิกสูตร



ว่าด้วยการคบค้ากันของสัตว์ด้วยมรรค 8



[399] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย... แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือพวก
มิจฉาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาทิฏฐิ พวก
มิจฉาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสังกัปปะ
พวกมิจฉาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวาจา พวก
มิจฉากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉากัมมันตะ
พวกมิจฉาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาอาชีวะ
พวกมิจฉาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ
พวกมิจฉาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวก
มิจฉาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ.
[400] พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้า ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาทิฏฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาสังกัปปะ พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาวาจา พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมากัมมันตะ พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก